วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ของดีประจำท่องถิ่น

"เมืองบั้งไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวานผ้าขิต แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ"
  คำว่า"บั้งไฟโก้" ซึ่งเป็นคำขึ้นต้นของคำขวัญประจำจังหวัดยโสธรนั้นหมายถึงงานประเพณีบุญบั้งไฟที่จัดขึ้นประจำทุกปี และเป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวอีสานที่เชื่อว่าการทำบุญบั้งไฟเพื่อบูชาเทพยาดาฟ้าดินเพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล จึงทำให้เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวที่อยากมาเที่ยวชมติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลกเลยทีเดียว
   โดยเรื่องเกี่ยวกับบุญบั้งไฟนั้นมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า ณ เมืองชมพู มเหสีของพระโอรสที่มีลักษณะแปลกประหลาด คือผิวกายเหลืองอร่ามดั้งทองคำ แต่เป็นตุ่มเหมือนผิวคางคก คนทั้งหลายจึง
ขนานนามว่า ท้าวคันคาก (แปลว่าคางคก) 
    เมื่อเติบโตก็ได้สืบราชบัลลังก์ครองเมืองต่อจากผู้เป็นพ่อ โดยปกครองเมืองจนเป็นที่เลื่องลือ ทำให้เมืองน้อยใหญ่หันมาสวามิภักดิ์จนพญาแถนผู้อยู่บนฟากฟ้าเดือดร้อน เพราะมนุษย์หันไปบูชาพญาคันคากจนลืมบูชาตนเอง จึงคิดกลั่นแกล้งโดยสั่งให้พญานาคงดไปให้น้ำในฤดูทำนา ทำให้เกิดความแห้งแล้ง ข้าวยากหมากแพง
    พญาคันคากเห็นดังนั้นจึงเกณฑ์กองทัพสัตว์มีพิษทั้งหลายขึ้นไปสู้กับพญาแถน จน พญาแถนยอมแพ้ในที่สุด พญาคันคากจึงขอให้พญาแถนเมตาต่อประชาชน โดยขอให้ประทานฝนตกต้องตามฤดูกาลทุกปี โดยจะให้ชาวบ้านจุดบั้งไฟขึ้นมาเตือนทุกปี
    ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทุกๆ เดือนหกซึ่งเป็นช่วงฤดูทำนา ชาวอีสานจึงมีประเพณีบุญบั้งไฟเพื่อบูชาพญาแถน และเมื่อพญาแถนประทานฝนลงมายังพื้นโลกแล้ว บรรดากบเขียดที่เป็นบริวารของพญาคันคาก ก็จะร้องประสานเพื่อแสดงความขอบคุณต่อพญาแถน
   จากตำนานเรื่องเล่าที่มีความสำคัญต่อประชาชนชาวจังหวัดยโสธร ทางจังหวัดจึงได้จัดสร้าง "วิมานพญาแถน" ขึ้นบริเวณลำน้ำทวนเพื่อใช้เป็นสถานที่ที่แสดงถึงวัฒนธรรมและประเพณีที่มีสืบต่อกันมาของชาวจังหวัด โดยใช้พญาคันคาก (พญาคางคก) เป็นจุดดึงดูดทั้งนักท่องเที่ยวและผู้คนทั่วไปได้เข้ามายังสถานที่นี้


     โดยภายในวิมานพญาแถนนั้น ประกอบไปด้วย อาคารพญานาค อาคารพญาคันคาก และประติมากรรมขบวนบั้งไฟ แต่จุดเด่นเห็นจะเป็น อาคารพญาคันคาก ด้วยความสูงถึง 19 เมตร ภายในอาคารประกอบไปด้วยพื้นที่นิทรรศการ 4 ชั้น ในแต่ละชั้นก็จะมีความน่าสนใจที่แตกต่างกันไป